เรื่องต้องรู้สำหรับเกียร์ออโต้ คืออายุการใช้งานสั้นกว่าเกียร์ธรรมดา

เรื่องต้องรู้สำหรับเกียร์ออโต้ คืออายุการใช้งานสั้นกว่าเกียร์ธรรมดา เราจึงต้องดูแลเกียร์ให้ดีเพื่อให้ใช้ได้ยาวนานกว่าเดิม เพราะเมื่อเกียร์พัง เตรียมพบรายจ่ายก้อนโตได้เลย

รถยนต์สมัยใหม่ในตลาด ส่วนใหญ่เป็นเกียร์อัตโนมัติ ไม่นับรวมพวกรถที่ใช้บรรทุกของทั่วไป อาจมีบ้างที่ใช้เกียร์ออโต้ก็เพื่อความสะดวกสบาย แต่สิ่งที่หลายๆ คนอาจยังหลงลืมและเข้าใจผิดในเรื่องการใช้งานรถยนต์เกียร์ “ออโต้” จนกลายเป็นความเคยชิน ซึ่งอาจส่งผลให้ระบบเกียร์นั้น “พัง” หรือ “สมรรถนะด้อยลงไป” มาดูว่ามีอะไรบ้าง

สำหรับ 4 พฤติกรรมที่ต้องระวังในการใช้เกียร์ มีดังนี้

1 เปลี่ยนเกียร์แบบกระทันหันในขณะที่รถยังไม่หยุดนิ่ง

การเข้าตำแหน่งเกียร์ “N” หรือเกียร์ว่าง นั้นควรปล่อยให้รถหยุดสนิทเสียก่อน มีหลายๆ คนเข้าใจว่าการเข้าเกียร์ว่างทั้งๆ ที่รถยังไหลอยู่จะช่วยประหยัดน้ำมัน เพราะรอบเครื่องยนต์จะต่ำลง แต่ความจริงนั้นไม่มีผลใดๆ เลย แถมส่งผลต่อระบบเกียร์อีกด้วย เพราะการเข้าเกียร์ว่างในขณะที่รถยังวิ่งอยู่นั้น ชิ้นส่วนที่เป็นระบบตัดต่อกำลังของเกียร์อัตโนมัติหรือทอร์คคอนเวอร์เตอร์จะเกิดความเสียหายได้ และหากมีเหตุต้องเร่งเครื่องยนต์กระทันหันก็ต้องเปลี่ยนเกียร์มาที่ตำแหน่ง “D” ซึ่งก็จะทำให้ชุดเกียร์เกิดความเสียหายได้เร็วขึ้น

2 เชนเกียร์ลงต่ำที่ความเร็วรอบสูงมากๆ

ระบบเกียร์อัตโนมัติถูกออกแบบให้ใช้งานได้หลายสภาวะแม้ขณะเร่งแซงอย่างฉับพลับ เช่น การ “คิกดาวน์” หรือการเหยียบคันเร่งสุดเพื่อต้องการแซงหรือขึ้นทางลาดชันเมื่อมีความจำเป็น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการ “สึกหรอ” ตามมา เพราะในแต่ละครั้งที่เร่งเครื่องยนต์อย่างแรงหรือลากรอบเครื่องยนต์สูงๆ ชุดฟันเฟืองต่างๆ ในเกียร์ก็จะหมุนด้วยความเร็วสูง จึงเกิดการเสียดสี ความร้อนสะสมสูงขึ้นกว่าปกติ ถ้าหากมีการคิกดาวน์บ่อยๆ ก็ยิ่งทำให้เกิดการสึกหรอเร็วขึ้นตามไปด้วย

3 ชิฟเกียร์ขึ้น-ลงบ่อยๆ

หลายคนขับรถเกียร์กระปุกจนเคยชินกับการสับเกียร์บ่อยๆ พอเปลี่ยนมาขับเกียร์ออโต้ โดยเฉพาะเกียร์ออโต้ที่มีแป้นกด Paddle Shift ตลอดจนการใช้ engine brake เพื่อให้รถชะลอความเร็ว ถ้าไม่เลิกนิสัยนี้ รับรองเกียร์มีปัญหาแน่นอน

4 ไม่เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ตามรอบเช็คระยะ

การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะว่าเปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงเครื่องยนต์ให้ทำงานได้ดี เราจึงควรใส่ใจกับการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องว่าควรจะทำเมื่อไหร่ อย่างไรตามรอบเช็คระยะ