ผันตัวมาทำเกษตรใช้เวลากว่า 3 ปี ปลูกนาข้าวสีชมพูได้สำเร็จ

อดีตพนักงานหนุ่ม หันมาทำการเกษตรกว่า 3 ปี คัดแยกพันธุ์ข้าว สามารถปลูกนาข้าวสีชมพูได้สำเร็จ

ประเทศไทยมีพื้นที่การปลูกข้าวประมาณ 64 ล้านไร่ ซึ่งในแต่ละภาคก็จะพื้นที่การปลูกข้าวที่ไม่เท่ากัน โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่การปลูกข้าวมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือและภาคใต้ ตามลำดับ ในปัจจุบันมีการแบ่งวิธีการปลูกข้าวอยู่ 4 วิธี คือ การปลูกข้าวนาดำ การปลูกข้าวนาหว่าน การปลูกข้าวนาไร่ และการปลูกข้าวนาขั้นบันได ซึ่งการปลูกข้าวในแต่ละวิธีก็จะขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่นั้นๆ เช่น ในพื้นที่ราบลุ่มก็จะมีการปลูกข้าวแบบข้าวนาหว่านหรือข้าวนาดำ ส่วนในพื้นที่สูง หรือบนดอยก็จะปลูกข้าวแบบข้าวไร่หรือข้าวนาขั้นบันได เป็นต้น (อ้างอิง ricethailand 2021/01/05)

หนุ่มจบเกษตรฯ ม.นเรศวร ลาออกจากงานบริษัท ผันตัวมาทำเกษตรใช้เวลากว่า 3 ปี ปลูกนาข้าวสีชมพูได้สำเร็จ

ได้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Suraphol Thubtong ได้โพสต์เผยแพร่ภาพทุ่งนาข้าวสีชมพู พร้อมกับบรรยายความเป็นมาของทุ่งนาข้าวสีชมพูแห่งนี้

ซึ่งภายหลังได้ทราบว่า ทุ่งนาข้าวสีชมแปลงนี้ตั้งอยู่ในไร่ เลขที่ 106/8 หมู่ 11 ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

โดยมีนายจตุรงค์ ชมภูษา อายุ 31 ปี ศิษย์เก่าคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.นเรศวร เป็นเจ้าของที่และคิดค้นการปลูกนาข้าวสีชมพูแห่งนี้

โดยหลังจากที่ปลูกนาข้าวสีชมพูได้สำเร็จ นายจตุรงค์ ตั้งใจพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดให้ได้

เมื่อภาพทุ่งนาสีชมพูนี้ได้ถูกเผยแพร่ออกไปสู่โลกออนไลน์ทำให้นักท่องเที่ยว

และชาวบ้านระแวกนั้นออกมาถ่ายรูปกันอย่างมากมาย ด้วยความงดงามและแปลกใหม่ ก็คงไม่พลาดที่จะถ่ายรูปเก็บไว้

การปลูกข้าวเป็นงานที่สำคัญยิ่งของประเทศไทยตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว จนถึงกับได้มีพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพื่อเป็นปฐมฤกษ์ในการทำนาปลูกข้าวของแต่ละปี จะได้เป็นสิริมงคลต่อพสกนิกรผู้ปลูกข้าว
โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมอบให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายเกษตรเป็นพระยาแรกนา ทำการไถ และหว่านเมล็ดข้าว ชาวนาจะเก็บเมล็ดพันธุ์นี้ไปรวมกับเมล็ดพันธุ์ที่เขาใช้ปลูก เพราะถือว่าเป็นสิริมงคลยิ่ง(อ้างอิง saranukromthai 2021/01/05)

อ้างอิงจาก : Suraphol Thubtong

เรียบเรียงโดย คนบ้านนอก