เกษตรกรมักจะเป็นกันทุกคน นั่นคือ กังวลเกี่ยวกับ แ ม ล ง และศัตรูพืช ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการดูแลสวนผัก ไร่นา สวนผสม หากเกิด แ ม ล ง และศัตรูพืชขึ้นแล้ว กว่าจะควบคุมได้ ก็ทำให้พืชผลเสียหายไปหลายส่วน หรือผักบางอย่างหากไม่สวยก็จะขายไม่ได้เลย เนื่องจากเป็นผักสำหรับตกแต่งและกินได้
วันนี้เราจึงมีไอเดียดีๆ ของเกษตรท่านหนึ่ง คุณพงษ์พัฒน์ เกษตรกรรุ่นใหม่ จากจังหวัดมหา ส า ร คาม ที่ริเริ่มแนวทางการปลูกพืชแบบหมุนเวียน
โดยเริ่มจากการแบ่งพื้นที่ปลูกออกเป็นแปลงย่อยๆ ก่อนค่ะ
ในแต่ละแปลงจะแบ่งไปอีก 7 แถว เพื่อปลูกพืช 7 ชนิดสลับกันได้แก่
– หอมแบ่ง
– ผักโขมแดง
– ขึ้นฉ่าย
– ผักสลัด
– ผักบุ้ง
– กระเพาะ
– โหระพา
– และแถวที่ 7 จะปลูกผักอื่นตามฤดูกาล
หลายคนสงสัยทำไมต้องปลูกแบบนี้ สาเหตุที่ปลูกแบบนี้ก็เพราะว่า ผักแต่ละชนิดจะได้ระยะเวลาเก็บเกี่ยวพร้อมกันทุกชนิด ไม่ต้องห่วงว่าชนิดใดจะมีมากหรือน้อยจนเกินไป ซึ่งหากมีมากหรือน้อยเกินไปอาจจะทำให้เสียราคาตลาดได้
แล้วจะทำอย่างไรให้ได้เก็บพร้อมกันล่ะ ในเมื่อเรารู้อยู่แล้วว่าพืชแต่ละชนิดมีอายุไม่เท่ากัน?
การนำพืชมาปลูกใน 1 แถว จะทยอยปลูกห่างกัน แปลงละ 1 วัน ก็คือ
วันแรก ปลูกแปลงแรก แถวที่ 1
วันที่ 2 ปลูกแปลงแรก แถวที่ 2
และทำต่อไปจนครบ แถวที่ 7
ทำให้การปลูกพืช 7 ชนิด 7 แถวของแต่ละแปลง จะต้องป ลู ก ห่างกัน 1 สัปดาห์
โดยให้เริ่มจากพืชมีอ า ยุ เก็บเกี่ยวนานที่สุดก่อน เช่น
สัปดาห์ที่ 1 ปลูกผักขึ้นฉ่าย อายุเก็บเกี่ยว 60 วัน
สัปดาห์ที่ 2 ปลูกผักสลัด อายุเก็บเกี่ยว 50 วัน
สัปดาห์ที่ 3 ปลูกหอมแบ่ง อายุเก็บเกี่ยว 45 วัน
สัปดาห์ที่ 4 ปลูกผักโขมแดง อายุเก็บเกี่ยว 35 วัน
สัปดาห์ที่ 5 ปลูกผักบุ้ง อายุเก็บเกี่ยว 25 วัน
สัปดาห์ที่ 6 ลงพืชที่เก็บผลผลิตได้ในระยะครึ่งปี เช่น กะเพรา โหระพา
สัปดาห์ที่ 7 ปลูกผักพื้นบ้าน เช่น สะระแหน่ พริก ผักเครื่องเคียงต่างๆ
หลังจากเก็บเกี่ยวหมดแล้ว ให้พลิกดินกลบตอเดิมทำ ปุ๋ ย อินทรีย์ทิ้งไว้ 3 วัน เริ่มปลูกผักชนิดใหม่ทันที ยกเว้นโหระพา กระเพรา เพราะสองชนิดนี้เก็บได้จนถึงอายุ 6 เดือน
เวลาปลูกใหม่ให้เปลี่ยนชนิด อย่าปลูกชนิดเดิมซ้ำที่เดิม ให้วนเปลี่ยนเอาสลับกันไป เพื่อป้องกัน โ ร ค ต่างๆ ในผัก และเพิ่มความสมบูรณ์ของดินได้อีกด้วยค่ะ
การทำแบบนี้ พืชจะพึ่งพากัน ไม่แย่ง ส า ร อ า ห า ร กัน และสามารถไล่ แ ม ล ง ป้องกันเพลี้ยนอ่อน ราแป้ง เพราะศัตรูพืชพวกนี้จะสับสน เนื่องจากพืชย้ายที่ปลูกวนสลับไปเรื่อยๆ สุดท้ายเมื่อ แ ม ล ง ไม่รบกวน พืชไม่เป็น โ ร ค ก็เก็บขายได้ราคาตลอดทั้งปี มีรายได้พอเพียงเลี้ยงชีพ ลดต้นทุน ปลอด ส า ร เ ค มี
ลองทำกันดูนะคะ ได้ผลอย่างไรมาเล่าสู่กันฟัง
เรียบเรียงโดย poobpub.com
ที่มา fourfarm, คุณพงษ์พัฒน์