10 บุญอานิสงส์แรง ที่ทำแล้ว ส่งผลให้ชีวิตรุ่งเรืองมากที่สุด

การทำบุญที่ได้อานิสงส์มากไม่เพียงแต่การตักบาตร ถวายสังฆทาน หรือบริจาคให้ทานเพียงเท่านั้น ยังมีการทำบุญอีกหลายอย่างที่นอกจากทำได้ง่ายแล้ว ยังได้อานิสงค์แรง และหากใครทำแล้วจะส่งผลให้ชีวิตรุ่งเรือง มีความเจริญก้าวหน้า ขอบอก ไม่ชื่ออย่าลบหลู่!

๑. ให้ทาน แบ่งปันผู้อื่นด้วยสิ่งของ ไม่ว่าจะให้ใครก็เป็นบุญ (ทานมัย)

เพื่อลดความตระหนี่ถี่เหนียว ผลของการให้ทานดังกล่าวทำให้ผู้ให้เกิดความอิ่มเอิบใจ

๒. รักษาศีล ก็เป็นบุญ (ศีลมัย)

เป็นการฝึกฝนที่จะ ลด ละ เลิก ความชั่ว ไม่ไปเบียดเบียนใคร มุ่งที่จะทำความดีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น
เป็นการหล่อเลี้ยงบ่มเพาะให้เกิดความดีงามและพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ให้ตกต่ำ

๓. เจริญภาวนา ก็เป็นบุญ (ภาวนามัย)

เจริญภาวนา หรือ ภาวนามัย เป็นการฝึกใจให้สงบ เห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ยกตัวอย่าง การนั่งสมาธิ วิปัสสนา การสวดมนต์ ผลบุญข้อนี้จะทำให้เกิดปัญญาแก่ผู้ปฏิบัติ

๔. อ่อนน้อมถ่อมตน (อปจายนมัย)

ผู้น้อยอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็แสดงออกในความมีเมตตาต่อผู้น้อยและต่างก็อ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม รวมถึงการให้เกียรติให้ความเคารพในความแตกต่างซึ่งกันและกัน

ทั้งในความคิดความเชื่อและวิถีปฏิบัติ ของบุคคลและสังคมอื่น ผลบุญข้อนี้จะทำให้เกิดความเมตตาต่อกัน

๕. ช่ ว ย เหลือสังคมรอบข้าง (ไวยาวัจจมัย)

การช่วยเหลือสังคม หรือ ไวยาวัจจมัย ผลบุญในข้อนี้จะช่วยให้เกิดความรักความสามัคคีขึ้น หรือช่วยงานเพื่อนบ้านที่ต้องการความช่วยเหลือ ก็เป็นบุญ

๖. เปิดโอกาสให้คนอื่นมาร่วมทำบุญกับเรา (ปัตติทานมัย)

ไปถึงการอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย ก็เป็นบุญ

๗. ยอมรับและยินดีในการทำความดี (หรือทำบุญ) (ปัตตานุโมทนามัย)

ของผู้อื่น เป็นการเปิดโอกาสร่วมใจอนุโมทนาในการกระทำความดีของผู้อื่น รู้สึกชื่นชมในการทำความดีของผู้อื่น ไม่คิดอิจฉา ก็เป็นบุญ

๘. ฟังธรรม (ธรรมสวนมัย)

บ่มเพาะสติปัญญาให้สว่างไสว ฟังธรรมะ ฟังเรื่องที่ดีมีประโยชน์ต่อสติปัญญา

หรือมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตที่ดี ไม่จำเป็นต้องไปฟังที่วัดหรือจากพระท่านโดยตรง ผลบุญข้อนี้จะทำให้ผู้ฟังเกิดการรู้แจ้งเห็นจริง

๙. แสดงธรรม (ธรรมเทศนามัย)

ให้ธรรมะและข้อคิดที่ดีกับผู้อื่น แสดงธรรม นำธรรมะไปบอกกล่าวเผื่อแผ่ให้คนอื่นได้รับฟัง ให้เขาได้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตที่ดีเป็นเรื่องของความจริง ความดี ความงาม ก็เป็นบุญ

๑๐. ทำความเห็นให้ถูกต้องและเหมาะสม (ทิฏฐุชุก ร ร ม) ไม่ถือทิฐิ เอาตนเองเป็นใหญ่ มีการปรับทิฏฐิ แก้ไขปรับปรุง

พัฒนาความคิดเห็น – ความเข้าใจให้ถูกต้องตามธรรม ให้เป็นสัมมาทัศนะอยู่เสมอเป็นการพัฒนาปัญญาอย่ างสำคัญก็เป็นบุญ

และทั้งหมดนี้ก็คือการทำบุญด้วยวิธีง่าย ๆ ทำได้ทันที ไม่ต้องลงทุนและเห็นเป็นรูปธรรมที่สุด แถมยังได้อานิสงส์มากอย่างไม่น่าเชื่อ

ที่มา : sanook

เรียบเรียงโดย คนบ้านนอก